การออกแบบสวนไม้ผล

“ไม้ผล” เป็นพืชยืนต้นที่ปลูกแล้ว จะอยู่ให้ผลผลิตแก่เกษตรกรหลายปี โดยระหว่างนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างสม่ำเสมอ การออกแบบพื้นที่สวนจึงเป็นปัจจัยสำคัญเบื้องต้นที่ส่งผลต่อการทำงานอย่างยิ่ง หากต้องคำนึงถึง ทิศทางแสง ระยะปลูก การจัดการน้ำ เป็นต้น


คุณบุญธรรม ปวงคำ เกษตรกร พื้นที่ตำบลห้วยลาน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ที่ทำสวนลำไยบนเนื้อที่ 19 ไร่ เริ่มต้นเมื่อ 6 ปีที่แล้ว (2559) ที่ตัดสินใจปรับพื้นที่จากการปลูกพืชล้มลุก ปลูกลำไยพันธุ์อีดอ โดยให้ความสำคัญกับการวางผังแปลงเนื่องจากสภาพเป็นพื้นที่ลาดเอียง เพื่อให้ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ระยะปลูกทั้งแนวแถวและต้น ออกแบบให้เป็นเส้นตรง และมีช่องว่างสำหรับเป็นเส้นทางเข้าถึงได้ง่ายทั่วแปลง และทรงพุ่มลำไยที่ควบคุมตั้งแต่ปีที่ 5 ให้มีขนาดที่จัดการง่าย ในปีที่ผ่านมาได้วางระบบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกแม่นยำในการจัดการ

ภาพ แปลงสวนลำไยของคุณบุญธรรม ปวงคำ ที่ตั้ง ม.5 ต.ห้วยลาน อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ซึ่งถ่ายจากส่วนที่สูงลงมา
ภาพ คุณบุญธรรม ปวงคำ เกษตรกรเจ้าของสวนลำไยและแปลงเรียนรู้ระบบน้ำ

ปัจจุบันลำไยเริ่มออกดอกและให้ผล โดยคาดว่าปี 2565 (ให้ผลปีที่ 2) จะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ที่ผ่านมาได้ร่วมกับทางภาครัฐสร้างการเรียนรู้แก่เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่และเกษตรกรทั่วไป ในรูปแบบแปลงเรียนรู้ระบบน้ำ ซึ่งแปลงดังกล่าวเป็นตัวอย่างการปฎิบัติที่สามารถเรียนรู้ได้จริง เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ได้ในพื้นที่

ภาพ คุณบุญธรรม ปวงคำ กำลังให้ข้อมูลเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ
ภาพ สภาพพื้นที่สวนลำไย ที่มีการจัดแนวและระยะปลูก ซึ่งที่มีร่องรอยการจัดการวัชพืชและพื้นที่โดยเครื่องจักรกลการเกษตร
ภาพ แนวแทยงระหว่างต้นและแถวลำไย ซึ่งสามารถนำพาหนะและเครื่องจักรกลการเกษตรผ่านได้อย่างสะดวก

ภาพ เครื่องมือ (ปั๊มน้ำ) ต้นแรงในการจ่ายน้ำพื้นที่สวน
ภาพ วาล์วเปิด-ปิด สำหรับควบคุมการให้น้ำระหว่างแถว
ภาพ หัวสปริงเกิร์ลจ่ายน้ำต้นลำไย

สำหรับเกษตรกร หรือผู้ที่สนใจ เข้าไปเยี่ยมชมหรือศึกษาข้อมูล สามารถติดต่อสำนักงานเกษตรอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา


การจัดการน้ำ http://dokkhamtai.phayao.doae.go.th/?p=401

การจัดการไม้ผล ไม้ยืนต้น ช่วงแล้ง http://dokkhamtai.phayao.doae.go.th/?p=627

แนวทางจัดการไม้ผล ปี 65 https://doaenews.doae.go.th/archives/11513

Spread the love