เริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ไปกับ BCG model

เมื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ เกษตรกรอาจต้องมองหาโอกาสในการสร้างช่องทางทางการตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมองทิศทางทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนกระแสผู้บริโภค “BCG model” เป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร น่าศึกษาและปรับกระบวนการคิดให้สอดคล้องอย่างยิ่ง

แปลงเพาะกล้าข้าวในพื้นที่นาของเกษตรกรในช่วงเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก

ปัจจุบันการเพาะปลูก อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หมุนเวียนใช้พื้นที่ในรอบปี ทั้งนี้ก็เพื่อความคุ้มค่าและรายได้ ฤดูกาลผลิตในอดีตอาจเริ่มต้นในช่วงที่ฝนเริ่มมา พืชเศรษฐกิจหลักทั้งข้าวนาปี พืชไร่ หรือไม้ยืนต้น จะถูกเพาะปลูกในพื้นที่ แล้วเกษตรกรต้องเตรียมตัวหรือจัดการอะไรบ้าง นอกจากการควบคุมต้นทุนให้เหมาะสม การใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ แนวคิดที่ควรนำมาพิจารณาอีกประการ คือ “BCG model” โมเดลเศรษฐกิจที่ภาครัฐใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา รวมไปถึงภาคเกษตร ซึ่งประกอบไปด้วย Bio (B) หมายถึง เศรษฐกิจชีวภาพ เป็นการใช้จุดแข็งจากความหลากหลายทางชีว มาสร้างผลผลิตที่มีมูลค่า Circular (C) คือ เศรษฐกิจหมุนเวียน การใช้ทรัพยากรและวัสดุต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า โดยนำมาผ่านกระบวนการให้เกิดขยะหรือของเหลือใช้น้อยที่สุด และสุดท้ายคือ Green (G) เศรษฐกิจสีเขียว การมุ่งเน้นใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ผลิตผลและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสินค้าเกษตรในพื้นที่ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

สำนักงานเกษตรอำเภอได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรเกิดความเข้าใจในการนำเอาหลักการมาปรับใช้ในภาคการเกษตร ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนผลักดันกลุ่มองค์กรในเครือข่ายงานส่งเสริมการเกษตรให้เข้ามามีบทบาทร่วมกัน โดยคาดหวังโอกาสในการขับเคลื่อนสินค้าเกษตรไปสู่ตลาดที่มีมูลค่าสูง สร้างอัตลักษณ์ที่สรางสรรค์ และเกิดความยั่งยืนต่อบริบทรอบข้างทั้งหมด

การจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) วันที่ 26 มกราคม 2566 ณ ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิถีชุมชนบ้านถ้ำ บ้านไร่สองนางฟาร์ม หมู่ 4 ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยมี นายนพรัตน์ รักษ์ไพสาณฑ์ นายอำเภอดอกคำใต้ ให้เกียรติเป็นประธาน กิจกรรมประกอบด้วยเวทีเสวนาหัวข้อ “BCG model กับภาคเกษตร” ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องได้แก่ เกษตรกร ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และได้รับเกียรติจาก นายนฤมิต สมัคร เกษตรจังหวัดพะเยา มาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ภายในงานยังมีจุดบริการของหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การแสดงผลงานของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ฐานการเรียนรู้จำนวน 5 ฐาน ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต การจัดการศัตรูพืช การจัดการดินและปุ๋ย การใช้เทคโนโลยการผลิต และการสรัางมูลค่าเพิ่ม กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยอำเภอดอกคำใต้ (สำนักงานเกษตรอำเภอ) มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญและนำเอาเทคโนโลยีไปปรับใช้ในกิจกรรมการเกษตรในฤดูกาลที่กำลังจะมาถึง โดยเป้าหมายผู้เข้าร่วมทั้งหมด 100 คน ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา หน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เทศบาลตำบลบ้านถ้ำ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาดอกคำใต้ สหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จำกัด และบ้านไร่สองนางฟาร์ม

นายนพรัตน์ รักษ์ไพรสาณฑ์ นายอำเภอดอกคำใต้ พร้อมด้วย นายกเทศมนตรีตำบลบ้านถ้ำ หัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ กล่าวเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2566
กิจกรรมเวทีเสวนา BCG กับภาคเกษตร ได้รับเกียรติจาก นายนฤมิต สมัคร เกษตรจังหวัดพะเยา ร่วมเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวทางดำเนินงาน
นายสัมพันธ์ ธิวงษา นายกเทศมนตรีตำบลบ้านถ้ำ ร่วมกิจกรรมและกล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน
กิจกรรมออกหน่วยบริการของหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งกลุ่มองค์กรในพื้นที่
เกษตรกรผู้ร่วมงานและใช้บริการ จากกลุ่มเครือข่ายและเกษตรกรในพื้นที่

กิจกรรมดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาใส่ใจกับการผลิตซึ่งสอดคล้องกับหลักการ BCG model ทั้งนี้ยังมีกระบวนการอื่น ๆ ที่เข้ามาสนับสนุน ได้แก่

1.ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ปัจจัยชีวภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้และส่งเสริมการใช้ปัจจัยชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

กิจกรรมนิทรรศการและบริการสงเสริมการใช้ปัจจัยชีวภาพ และรณรงค์หยุดเผาในพื้นที่เกษตร
กิจกรรมฝึกปฎิบัติการผลิตปัจจัยชีวภาพ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลคือเวียง

2.ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ถ่ายทอดความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ให้แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกร และเกษตรกรในชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ในกระบวนการผลิต พร้อมทั้งสนับสนุนปัจจัยสำหรับฝึกปฏิบัติและเรียนรู้

กิจกรรมอบรมถ่ายทอดความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก

3.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร เพิ่มโอกาสและช่องทาง
ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและแปรรูปผลผลิตการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าตามแนวทาง BCG model

เวทีถ่ายทอดความรู้การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต

ที่ผ่านมาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG model ได้ถูกผลักดันและนำมาดำเนินการในพื้นที่ โดยมีเกษตรกรและกลุ่มองค์กรที่สนใจ สามารถสร้างมูลค่าและพัฒนาศักยภาพจนเกิดรูปธรรม ดังเช่นตัวอย่างกลุ่มองค์กรที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในพื้นที่ ได้แก่


1. วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิถีชุมชนบ้านถ้ำ ซึ่งริเริ่มทำกิจกรรมที่สนับสนุนให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวระหว่างพื้นที่หรือฟาร์มเกษตรเล็ก ๆ ของสมาชิก รวมถึงทัศนียภาพธรรมชาติและวิถีของชาวชุมชน เปิดให้บุคคลที่สนใจในแต่ละกิจกรรม มาเยี่ยมเยือน ศึกษา โดยในระหว่างนั้นก็สามารถเที่ยวชมจุดท่องเที่ยวทางธรรมชาติหรือวัฒนธรรม แวะใช้บริการหน่วยธุรกิจหรือกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนไปด้วย

สมาชิกวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิถีชุมชนบ้านถ้ำ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
เกษตรกรเจ้าของฟาร์มผึ้งกำลังสาธิตการจัดการผึ้งให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพื่อเก็บข้อมูล
เกษตรกรเจ้าของฟาร์มจิ้งหรีด เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีด


2. วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งมีความสนใจในการผลิตข้าว โดยอาศัยวิธีคิดและกระบวนการที่เอื้อต่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม การหมุนเวียนและใช้ปัจจัยวัสดุในพื้นที่ ไปจนถึงการต่อยอดพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ จากข้าวทั่วไป เป็น ข้าวกล้องงอกอินทรีย์ หรือ ข้าวฮางงอก ผลิตภัณฑ์ที่เสริมสร้างโภชนาการสำหรับสุขภาพ ซึ่งเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

สมาชิกวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก
ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์(Nong Lom Rice) วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก
คณะกรรมการคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ปี 2565 กำลังเยี่ยมชมกระบวนการผลิตข้าวกล้องงอกของวิสาหกิจชุมชน ฯ

และนอกจากนี้ยังมีเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรในพืนที่ ซึ่งเป็นเครือข่ายอีกหลายแห่งที่เป็นเป้าหมายร่วมดำเนินการต่อไป ทั้งนี้การพัฒนาเศรษฐกิจภาคเกษตรในพื้นที่ มีความจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจ ส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และประสานความร่วมมือไปยังทุกภาคส่วน


ขับเคลื่อน BCG และรณรงค์หยุดเผา

ข้าวหอมมะลิป่าต้นน้ำห้วยร่องสัก

ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิถีชุมชนบ้านถ้ำ

BCG model การส่งเสริมการเกษตร

Spread the love